แบบไมโอซิส

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)

   การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลงโดยโครโมโซมในนิวเคลียส
ลดจำนวนลงครึ่งหนึ่ง เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์
เซลล์ร่างกายคนมีโครโมโซม 46 แท่ง หรือ 23 คู่ (2n) แต่ละีคู่มีลักษณะเหมือนกัน
และมียีนควบคุมลักษณะเดียวกันอยู่ในตำแหน่งตรงกัน เรียกโครโมโซมที่เป็นคู่กันว่า
ฮอมอโลกัสโครโมโซม (homologous chromosome) เซลล์ที่มีโครโมโซมเข้าคู่กันเรียกว่า
เซลล์ดิพลอยด์ (diploid cell) เซลล์ในอวัยวะสืบพันธุ์จะเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส ผลิตเซลล์ไข่่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เซลล์อสุจิเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เซลล์สืบพันธุ์มีโครโมโซม เพียงครึ่งเดียวหรือ เรียกว่า เซลล์แฮพลอยด์ (haploid cell)การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส นิวเคลียสมีการ เปลี่ยนแปลง 2 รอบ จึงใช้เลขโรมัน I และ II กำกับระยะต่าง ๆ

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)

มี 2 ขั้นตอน ใหญ่ คือ ไมโอซิส I เป็นการลด DNA หรือโครโมโซมลงครึ่งหนึ่ง
และ ไมโอซิส II เป็นขั้นตอนที่คงจำนวนโครโมโซม

ระยะอินเตอร์เฟส I (interphase I) ก่อนแบ่งเซลล์ เซลล์มีการเตรียมตัวเช่นเดียวกับ
การแบ่งแบบไมโทซิส ระยะเวลาการสังเคราะห์ DNA ยาวนานกว่าในแบบไมโทซิส

รูปภาพ
ระยะไมโอซิส I (meiosis I) เป็นการเปลี่ยนแปลงของนิวเคลียและไซโทพลาซึม
ในรอบที่ 1 แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ โพรเฟส I เมทาเฟส II แอนาเฟส II และเทโลเฟส II

ระยะโพรเฟส I (prophase I)

ระยะีนี้ใช้เวลานานกว่าระยะอื่น มีการเปลี่ยนแปลงคล้ายกับแบบไมโทซิส โครมาทินหดตัว
สั้นลงและมีขนาดใหญ่ขึ้น เซนโทรโซมเคลื่อนออกจากกันตามความยาวของนิวเคลียส
เยื่อหุ้มนิวเคลียสและนิวคลีโอลัสเริ่มสลาย

โครโมโซมที่เป็นฮอมอโลกัสกัน จะเรียงเป็นคู่ มี 4 โครมาทิด อาจเกิดการไขว้กันของ
โครมาทิด เรียกว่า ครอสซิงโอเวอร์ (crossing over) ตำแหน่งที่ไขว้กันเรียกว่า
ไคแอสมา (chiasmata) เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครมาทิดต่างเส้น
ที่อยู่ชิดกันทำให้สารพันธุกรรมถูกแลกเปลี่ยนด้วย

รูปภาพ

ระยะเมทาเฟส I (metaphase I)

ระยะนี้เส้นใยสปินเดิลที่ยึดเกาะฮอมอโลกัสโครโมโซมจะจัดให้โครโมโซมมาเรียง
ตัวกันเป็นคู่ ๆ โครโมโซมเรียงตัวตามแนวระนาบของเมทาเฟสเพลท ( กึ่งกลางเซลล์ )
เซนโทรโซมอยู่คนละขั้วเซลล์ เชื่อมต่อกันด้วยเส้นใยสปินเดิล ปลายด้านหนึ่งของ
เส้นใยสปินเดิลเกาะที่ไคนีโทคอร์ บริเวณเซนโทรเมียร์ของแต่ละโครโมโซม

รูปภาพ

ระยะแอนาเฟส I (anaphase I)

ระยะนี้มีการแยกโครโมโซมออกจากกัน คล้ายกับการแบ่งแบบไมโทซิส แต่เป็นการแยก
โครโมโซมที่เข้าคู่ออกจากกันไปคนละขั้วเซลล์ โดยแต่ละโครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด

รูปภาพ

ระยะเทโลเฟส I (telophase I)

ในระยะนี้มีการสร้างเยื่อหุ้มนิวเคลียสล้อมรอบโครโมโซม ได้นิวเคลียสใหม่ 2 นิวเคลียส
และสร้างนิวคลีโอลัสขึ้นใหม่ แต่ละโครโมโซมมี 2 โครมาทิด จำนวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง
หรือเท่ากับ n ถ้าเซลล์เริ่มต้นเป็น 2n

รูปภาพ

การแบ่งไซโทพลาซึม ในรอบที่ 1 การแบ่งไซโทพลาซึมในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
มีกระบวนการต่าง ๆ เกิดขึ้นเหมือนกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส แต่การแบ่งไซโทพลาซึม
ในรอบที่ 1 อาจไม่เกิดขึ้นกับเซลล์ทุกเซลล์

ไมโอซิส II (miosis II)

ระยะอินเตอร์เฟส II ไม่มีการจำลองตัวเองของโครโมโซม เนื่องจากในการแบ่งรอบที่ 1
โครโมโซมแต่ละโครโมโซมมี 2 โครมาทิดอยู่แล้ว การแบ่งนิวเคลียสในรอบที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลง
ในระยะต่าง ๆ ดังนี้

ระยะโพรเฟส II

เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายไป มีเส้นใยสปินเดิลเกิดขึ้นและมาจับเซนโทรเมียร์ของโครมาทิด

รูปภาพ

ระยะเมเทาเฟส II


โครโมโซมจะมาเรียงกันอยู่บริเวณกลางเซลล์เซนโทรเมียร์และเริ่มมีการแบ่งตัว
เพื่อให้โครมาทิดแยกออกจากกัน

รูปภาพ

ระยะแอนาเฟส II

เส้นใยสปินเดิลหดสั้นเข้าและโครมาทิดก็จะแยกออกจากกันไปตามแนวของ
สายใยสปินเดิลเข้าสู่ขั้วของเซลล์

รูปภาพ

ระยะเทโลเฟส II

เมื่อโครโมโซมมาถึงขั้วของเซลล์ก็จะคลายเกลียวขดเป็นเส้นยาว มีนิวคลีโอลัสและ
เยื่อหุ้มนิวเคลียสเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส II นั้นจะเหมือนกับ
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส

หลังสิ้นสุดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจะได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ และแต่ละเซลล์
มีจำนวนโครโมโซมเท่ากับครึ่งหนึ่งของเซลล์เดิม

รูปภาพ

ตารางแสดงข้อแตกต่างระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสและไมโอซีสระยะการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส

รูปภาพ


รูปภาพรูปภาพ